ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สุจิตต์ วงษ์เทศ

สุจิตต์ วงษ์เทศ (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 (แต่ได้ขอปฏิเสธรางวัลและค่าตอบแทน)

สุจิตต์ วงษ์เทศ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2488 ที่บ้านด่าน ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ สำเภา วงษ์เทศ เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านด่าน มารดาชื่อลิ้นจี่ วงษ์เทศ

สุจิตต์ เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 6 คน สมรสกับศาสตราจารย์ ปรานี วงษ์เทศ (สกุลเดิม: เจียรดิษฐ์อาภรณ์) เมื่อ พ.ศ. 2514 มีบุตร 2 คน

สุจิตต์ วงษ์เทศ เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากนั้นได้ย้ายตามลูกของลุงที่บวชเป็นพระมาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร แล้วเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ กรุงเทพมหานคร แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ต่อมาได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จนสำเร็จปริญญาตรีใน พ.ศ. 2513

สุจิตต์ วงษ์เทศ เริ่มสนใจงานเขียนมาตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ด้วยการชักชวนของนายขรรค์ชัย บุนปาน เพื่อนร่วมห้องซึ่งทำหนังสือประจำห้องอยู่ก่อนแล้วด้วยใจรักและด้วยความสนุกร่วมกับนายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ เพื่อนในชั้นเรียนอีกคนหนึ่ง ชักชวนกันเขียนกลอน ช่วงนั้นได้อ่านหนังสือของไม้ เมืองเดิม เกิดความชอบใจสำนวนโวหาร จึงคิดเขียนกลอนที่แตกต่างจากกลอนรักที่นิยมเขียนกันทั่วไป คือ เขียนกลอนแนวลูกทุ่งสะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมในขณะนั้น จนมีผลงานรวมพิมพ์เป็นเล่ม ร่วมกับผลงานของนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ นิราศ เมื่อ พ.ศ. 2507 โดยสุจิตต์ เขียนนิราศเมืองนนท์ ส่วนกลอนลูกทุ่ง เขียนร่วมกัน ต่อมา พ.ศ. 2508 เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ คนบาป ซึ่งเป็นปฐมบทของพฤติกรรม "ขุนเดช" ผู้หวงแหนโบราณวัตถุและโบราณสถาน ลงพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2509 ทำให้มีกำลังใจเขียนเรื่องสั้นต่ออีกมาก จน พ.ศ. 2511 มีรวมเรื่องสั้นเล่มแรกร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ ครึ่งรักครึ่งใคร่ และโด่งดังมากใน พ.ศ. 2512 จากผลงานร้อยกรองร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ กูเป็นนิสิตนักศึกษา และรวมเรื่องสั้นของตนเอง ชื่อ ขุนเดช กับนวนิยายขนาดสั้น หนุ่มหน่ายคัมภีร์ ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นชุดขุนเดช มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกด้วย ในช่วงที่เรียนคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากจะประพันธ์ร้อยกรองและเรื่องสั้นกับเพื่อนๆ นักเขียนกลุ่ม "หนุ่มเหน้าสาวสวย" จนโด่งดังแล้ว ยังได้ไปทำนิตยสารช่อฟ้า ที่มีนายสำราญ ทรัพย์นิรันดร์ เป็นบรรณาธิการ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยรับหน้าที่บรรณาธิการวารสารโบราณคดี และได้ทำงานที่โรงพิมพ์กรุงสยาม รับจ้างพิสูจน์อักษร ออกแบบปก จัดทำรูปเล่มและทำงานการพิมพ์อื่น ๆ เกือบทุกอย่าง ทำให้รอบรู้และมีรายได้ส่งเสียตัวเองและน้องสาวที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ด้วย เนื่องจากนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยอ่านวรรณคดีโบราณ เช่น ทวาทศมาส ยวนพ่าย กำสรวลโคลงดั้น ฯลฯ มามาก จึงได้รับการขอร้องจากอาจารย์ให้เป็นผู้สอนวิชาภาษาและวรรณคดีไทยในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 และสอนต่อเนื่องมาจนจบการศึกษาแล้วก็ยังกลับไปสอนอีกระยะหนึ่ง

เมื่อเรียนจบปริญญาตรี เมื่อพ.ศ. 2513 ได้เข้าทำงานกับ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ทำงานแทนบรรณาธิการเกือบทุกอย่างประมาณ 1 ปี จึงขอลาไปสหรัฐอเมริกา 1 ปีเศษ ทำงานเขียนหนังสืออย่างเดียว มีผลงานรวมเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในช่วงนี้ชุดหนึ่ง ชื่อ มุกหอมบนจานหยก เรื่องที่ส่งกลับมาลงพิมพ์ในสยามรัฐรายวัน และเรื่องที่เขียนให้นายสุทธิชัย หยุ่น แปลเป็นภาษาอังกฤษลงในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นนั้น ได้รวมพิมพ์ชื่อ เมดอิน ยูเอสเอ และ โง่เง่าเต่าตุ่นเมดอิน ยูเอสเอ ช่วงที่อยู่สหรัฐอเมริกาได้แต่งงานกับนางสาวปรานี เจียรดิษฐ์อาภรณ์ (รองศาสตราจารย์ปรานี วงษ์เทศ) ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เดินทางกลับมาทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวันตามเดิม แล้วออกมาพร้อมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน และนายเสถียร จันทิมาธร ไปทำงานที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายวันระยะหนึ่ง แล้วร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ก่อตั้งโรงพิมพ์พิฆเนศ กระทั่งหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเริ่มออกหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายสัปดาห์ ซึ่งต่อมาเป็นประชาชาติรายวัน โดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการในระยะแรก แต่ถูกสั่งปิดในระยะต่อมา จึงไปช่วยก่อตั้งสำนักพิมพ์การเวกจัดพิมพ์หนังสือต่าง ๆ ออกจำหน่าย จากนั้นได้ก่อตั้งโรงพิมพ์เรือนแก้วเป็นของตัวเอง ออกหนังสือการะเกดรายสัปดาห์ ก็เลิกล้มไปอีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2522 ริเริ่มทำนิตยสารศิลปวัฒนธรรมรายเดือน ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้อ่านกว้างขวาง จึงรับหน้าที่บรรณาธิการเรื่อยมา จนภายหลังได้มอบหมายให้นายฐากูร บุนปาน ทำหน้าที่นี้แทน ขณะเดียวกันก็เขียนบทความแนวประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมในนามจริง สุจิตต์ วงษ์เทศ และใช้นามปากกา "ทองเบิ้ม บ้านด่าน" ไปพร้อม ๆ กับงานร้อยกรอง ด้วยความรักในกาพย์ กลอน นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ยังคงสร้างผลงานกวีนิพนธ์ร่วมสมัยสะท้อนสภาพสังคมเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นบทกลอนสั้น ๆ ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันประจำทุกวันอาทิตย์จนถึงปัจจุบัน

นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นับเป็นกวีที่มีผลงานโดดเด่นด้วยการนำรูปแบบของร้อยกรองพื้นบ้าน มาปรับให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน มีผลงานหลากหลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 40 ปี ได้แก่

นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นกวีร่วมสมัยผู้สืบสานและสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ของไทย บทกวีของนายสุจิตต์ วงศ์เทศ ปรับประยุกต์ขนบวรรณศิลป์พื้นบ้านมาสะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์วิถีชีวิตของผู้คน สังคม และการเมืองร่วมสมัย ด้วยท่วงทำนองเรียบง่ายแต่เฉียบคม นายสุจิตต์ วงษ์เทศ พิสูจน์ให้เห็นว่ากวีนิพนธ์สามารถสื่อเนื้อหาทางสังคมและการเมืองร่วมสมัยได้อย่างทรงพลัง ทั้งพลังเชิงวรรณศิลป์และพลังทางปัญญา นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นปฏิภาณกวีผู้เชี่ยวชาญในการด้นกลอนเสภา อีกทั้งผสมผสานมรดกทางวรรณศิลป์ของไทยตั้งแต่วรรณคดีโบราณ เพลงพื้นบ้านต่าง ๆ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและตำนาน เพื่อนำมาเสนอเรื่องราวร่วมสมัย กวีนิพนธ์จำนวนมากนำเสนอวิถีชีวิตของสามัญชนชาวไทยที่ยากลำบาก แต่ก็ยังต่อสู้ดิ้นรนและมีความรักประเทศชาติและผืนแผ่นดิน จากประวัติชีวิตและผลงานดังกล่าว คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406